วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การเข้าเรียน คร้งที่ 16

บันทึกการเข้าเรียน

ครั้งที่  16

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556


     วันนี้เป็นการเรียน การสอนครั้งสุดท้ายอาจารย์พูดถึงเรื่องสื่อการสอนคณิตศาสตร์ ของโรงเรียนเกษมพิทยา เพื่อเป็นแนวทางในการนำไปใช้ในอนาคต 



ตัวอย่าง map ของเด็กโรงเรียนเกษมพิทยา








ตัวอย่างสื่อจากฝีมือของเด็ก โรงเรียนเกษมพิทยา



    

    วันนี้เพื่อนๆ กลุ่มที่เหลือออกสาธิตการสอนทั้งหมด 2 กลุ่ม คือ หน่วยเรื่อง ข้าว กับ หน่วยเรื่อง สับปะรด โดยที่นำเอาข้อผิดพลาดและสิ่งที่อาจารย์ได้บอกไปเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว มาปรับใช้กับตัวเองทำให้ค่อนข้างผ่านไปได้ด้วยดี





ภาพการสาธิตการสอน หน่วยเรื่อง ข้าว
(กลุ่มนี้เพื่อนคนแรกนำเสนอได้ดี ใช้คำตามที่อาจารย์บอกได้ครบถ้วน)





ภาพการสาธิตการสอน หน่วยเรื่อง สับปะรด
(กลุ่มนี้เพื่อนสาธิตการสอนสนุกมากค่ะ)





*ส่วนเพื่อนกลุ่มที่เหลือ ที่ไม่ได้มาสาธิตการสอนให้งานของกลุ่มตัวเอง มาใส่ไว้ในบล๊อกให้ครบถ้วน และอาจารย์จะเข้ามาตรวจและสอบถามภายหลัง*

   อาจารย์นัดให้ทุกคนมาสอบในวันพุธ ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 15.00 น. โดยให้อ่านหนังสือเกี่ยวกับมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์มา เพราะจะมีออกสอบและกำหนดตรวจบล๊อกหลังสอบเสร็จ ให้นักศึกษาไปดำเนินการให้เรียบร้อยด้วย



ในวันนี้ได้มีการเลือกตั้งประธานองคกรนักศึกษาของมหาวิทยาลัยที่ใตึตึกคณะศึกษาศาสตร์
ก่อนเข้าเรียน ดิฉันจึงลงไปร่วมใช้สิทธิ์เลือกตั้งค่ะ ..


 ร่วมใช้สิทธิ์เลือกตั้งค่ะ

 

การเข้าเรียน ครั้งที่ 15

บันทึกการเข้าเรียน

ครั้งที่  15

วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2556

    วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมาสาธิตการสอน ตามที่ได้กำหนดไว้ แต่เนื่องจากเกิดความเข้าใจผิดว่าให้เตรียมการสอนมาแค่วันเดียว จึงทำให้เพื่อนกลุ่มอื่นๆไม่ได้รายงาน กลุ่มของดิฉันจึงออกไปรายงานกลุ่มแรก 

    เนื่องจากเป็นกลุ่มแรกจึงมีข้อผิดพลาดหลายอย่างอาจารย์จึงแนะนำ และให้แก้ไขวิธีการสอน การใช้คำพูดต่าง ๆ  แนะนำวิธีการใช้สื่อให้เด็กๆ รู้จักกับตัวเนื้อหาที่เราเตรียมมา ทำให้เพื่อนๆกลุ่มอื่นได้รู้การนำเสนอ และวิะีการสอนที่ถูกต้อง โดยกลุ่มของดิฉันสาธิตการสอน หน่วยเรื่อง กล้วย และกลุ่มของอีฟ นำเสนอหน่วยเรื่อง ไข่ ...

ภาพการนำเสนอ การสาธิตการสอน..


ภาพการนำเสนอ การสาธิตการสอน



การเข้าเรียน ครั้งที่ 14

บันทึกการเข้าเรียน

ครั้งที่ 14

วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556



วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดธุระ :)

การเข้าเรียน ครั้งที่ 13

บันทึกการเข้าเรียน

ครั้งที่ 13

วันที่ 25 มกราคม 2556

  • อาจารย์จ๋ายกตัวอย่าง My mapping เรื่องไข่ 
มีวิธีการเลือกหน่วยที่จะสอนเด็กปฐมวัยดังนี้
1. เรื่องง่ายๆที่เด็ํกทำได้
2. เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเด็ก
3. เหมาสมกับวัยของเด็ก
4. มีประโยชน์กับเด็ก
5. เด็กรู้จัก
6. เสริมสร้างพัฒนาการ
7. มีความสำคัญกับเด็ก
8. คำนึงถึงผลกระทบ

  • อาจารย์ ให้เอางานมาส่งซึ้งเป็นงานที่เอาไปเเก้ไขตั้งเเต่อาทิตย์ที่เเล้ว บางกลุ่มก็เปลี่ยนเป็นเรื่องอื่นอย่างเช่นกลุ่มเราเปลี่ยนจาก เรื่อง กล้วย เป็นเรื่องที่กว้างกว่าเดิม คือเรื่อง ผลไม้
  •  อาจารย์เเละนักศึกษาร่วมกันเเตกแมพในเรื่องของ มาตรฐานคณิตศาสตร์ 
  • อาจารย์ ให้นักศึกษาออกมาสาธิตการสอน  จากเรื่องที่เราทำมา เเต่นักศึกษาบอกว่าในสัปดาห์ที่ผ่านมาอาจารย์ยังให้ไปเเก้ไขงานก่อน แต่อยาพึ่งมาสาธิตการสอน ดังนั้น อาจารย์ก็บอกว่างั้นเราก็ไปเตรียมการสอนมาก่อน สัปดาห์อาจารย์ติดธุระมีเวลาไปซ้อมมา เเล้วมาสาธฺตวันที่เราเจอกัน
  • อาจารย์ได้ทำตารางเเสดงข้อมูลเรื่องไข่
  • อาจารย์เเละนักศึกษาได้ร่วมกันนำเสนอข้อมูลที่ได้มาจากตารางเป็นเเผนภูมิวงกลม
 *งานที่อาจารย์มอบหมาย ให้นักศึกาษาซ้อมสาธิตการสอนมาทั้งหมด 5 วัน*

เพลง เป็ดน้อย(สอนจำนวนนับ)

เพลง เป็ดน้อย

(เป็นเพลงที่ใช้สอนเรื่องการนับ)


เป็ดน้อย 3 ตัว เตาะแตะตามกัน
เดินเพลิดเพลินมาในไพรวัลย์
ก๊าบ ก๊าบ ก๊าบ แม่เรียกเสียงดัง
เป็ดน้อย 2 ตัว กลับมาน่าชัง
เป็ดน้อย 2 ตัว เตาะแตะตามกัน
เดินเพลิดเพลินมาในไพรวัลย์
ก๊าบ ก๊าบ ก๊าบ แม่เรียกเสียงดัง เป็ดน้อย 1 ตัวกลับมาน่าชัง
เป็ดน้อย 1 ตัว เตาะแตะตามกัน
เดินเพลิดเพลินมาในไพรวัลย์
ก๊าบ ก๊าบ ก๊าบ แม่เรียกเสียงดัง เป็ดน้อย ไม่กลับ มาเออ น่าชัง
แม่เป็ดขนงามเดินตามลูกไป
ก๊าบ ก๊าบ ก๊าบ กึงก้องในไพร
ก๊าบ ก๊าบ ก๊าบ แม่เรียกเสียงดัง เป็ดน้อย 3 ตัว กลับมาดีจัง


การเข้าเรียน ครั้งที่ 12


บันทึกการเข้าเรียน

ครั้งที่ 12

วันที่ 18 มกราคม 2556

     อาจารย์ได้พูดถึงงานที่อาจารย์สั่งมาทำมาหรือไม่ และให้นำงานที่ให้ไปแก้ไขในสัปดาห์ทีแล้วมาส่งเพื่อดุว่าถุกต้องแล้วหรือไม่และให้ส่ง my map แต่เนื่องจากกลุ่มของดิฉันทำผิดอาจารย์จึงให้นำกลับมาแก้ไขใหม่และแตกแขนงหัวข้อให้น่าสนใจมากขึ้น

การเข้าเรียน ครั้งที่ 11

  บันทึกการเข้าเรียน
ครั้งที่ 11

วันที่ 11 มกราคม 2556
    าจารย์ให้ทุกกลุ่มออกมานำเสนอสื่อคณิตศาสตร์ของตัวเอง
กลุ่มที่ 1 ประดิษฐ์ลูกคิดจากสิ่งของเหลือใช้ สอนในเรื่อง การนับ จำนวน การดำเนินการ
ซึ่งยังไม่เหมาะกับเด็กเพราะเด็กยังไม่เข้าใจในตัวสัญลักษณ์และยังเป็นนามธรรม เด็กเล็กจะต้องเห็นเป็นรูปธรรม สิ่งที่เด็กเห็นและเรัียนรู้ต้องเป็นของจริงจับต้องได้และมีมิติ

กลุ่มที่ 2 ประดิษฐ์การนำเสนอข้อมูลเป็นกราฟ กลุ่มของข้าพเจ้าเอง ซึ่งตรงกับมาตรฐานที่ 6 คือกระบวนการทางคณิตศาสตร์ซึ่งตรงกับ อาจารย์ เยาวภาและอาจารย์นิตยา

กลุ่มที่ 3 ประดิษฐ์ปฎิทิน วันและเดือนสอนในเรื่องการนับ จำนวน การเรียงลำดับ การนับเลขเชิงนามธรรม สัญลักษณ์ ปริมาณ ควรจะใส่วันเกิดเด็กลงไปในปฎิทิน หรือเลือประสบการณ์ที่มีอยูในชีวิตประจำวันของเด็ก


ดร.อัญชลี ไสยวรรณ

    ผู้แต่ง

     ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี ไสยวรรณ การจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กควรเน้นการให้เด็กได้มีโอกาส จัดกระทำ กับวัตถุประสงค์ต่าง ๆ เพราะเด็กในวัยนี้เรียนรู้โดยอาศัยประสาทสัมผัสรับรู้และการเคลื่อนไหว เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญา การจัดการเรียนรู้เน้นให้เด็กได้พัฒนาประสาทสัมผัสให้มากที่สุด และกระตุ้นให้เด็กได้คิดและมีโอกาสจัดกระทำ หรือลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งเปิดโอกาสให้เด็กได้สัมผัสแตะต้อง ได้เห็นสิ่งต่าง ๆ หรือเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ โดยผ่านประสาทสัมผัสแตะต้อง ได้เห็นสิ่งใหม่ ๆ ซึ่งวิธีการดังกล่าวจะช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ รอบตัว
การจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยหมายถึง การจัดสภาพการณ์ในชีวิตประจำวันของเด็กเป็นฐานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ซึ่ง ครูต้องวางแผนการจัดการเรียนรู้เป็นอย่างดี ประกอบด้วยกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กค้นคว้า แก้ปัญหา พัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และความคิดรวบยอด ที่เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ เด็กแต่ละวัยจะมีความสามารถเฉพาะ เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง บรรยากาศการเรียนต้องไม่เคร่งเครียดเด็กรู้สึกสบายๆในขณะเรียน เห็นความสัมพันธ์ของคณิตศาสตร์ในธรรมชาติ บ้าน โรงเรียน กิจกรรมสอดคล้องกับชีวิตประจำวันและเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมจะช่วยพัฒนา ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และความคิดรวบยอดได้ดีขึ้น

    ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วยความสามารถต่างๆดังนี้

  1. การจำแนกประเภท
  2. การจัดหมวดหมู่
  3. การเรียงลำดับ
  4. การเปรียบเทียบ
  5. รูปร่างรูปทรง
  6. พื้นที่
  7. การชั่งตวงวัด
  8. การนับ
  9. การรู้จักตัวเลข
  10. รู้จักความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนกับตัวเลข
  11. เวลา
  12. การเพิ่มและลดจำนวน
    จำนวนและตัวเลข เด็กปฐมวัยหากได้เรียนรู้จากการปฏิบัติโดยการใช้สื่อของจริงจะส่งผลให้มี ทักษะการรับรู้เชิงจำนวนเนื่องจากธรรมชาติได้สร้างให้สมองของเด็กมีบริเวณ ที่เกี่ยวข้อง กับการรับรู้เชิงจำนวน ส่วนของสมองอย่างน้อย 3 บริเวณที่เกี่ยวข้องกับทักษะการรับรู้เชิงจำนวน สองส่วนแรกอยู่ที่สมองทั้งซีกซ้ายและขวาเกี่ยวข้องกับสัญลักษณ์ตัวเลข และบริเวณที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเปรียบเทียบจำนวน และบริเวณสุดท้ายอยู่ที่สมองซีกซ้ายคือ ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการนับปากเปล่าและความจำเกี่ยวกับจำนวน การคำนวณ โดยสมองทั้ง 3 ส่วนจะทำงานร่วมกัน พัฒนาการด้านการรับรู้เชิงจำนวนและคณิตศาสตร์เริ่มตั้งแต่ปฐมวัยและพัฒนา เรื่อยไปจนถึงวัยผู้ใหญ่

การเข้าเรียน ครั้งที่ 10

บันทึกการเข้าเรียน

ครั้งที่ 10

วันที่ 4 มกราคม 2556


     วันนี้เพื่อนๆแต่ละกลุ่มนำอุปกรณ์มาทำงานสื่อกันที่ใต้ตึกคณะศึกษาศสตร์  เมื่อเจออาจารย์จึงขอนุญาตนั่งเรียนพร้อมกับทำงานอยู่ข้างล่างแทน และอาจารย์คอยเดินตรวจดูงานและให้คำแนะนำกับนักศึกษา


การเข้าเรียน ครั้งที่ 9

บันทึกการเข้าเรียน

ครั้งที่ 9

วันที่ 28 ธันวาคม 2555


วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นวันหยุดยาวปีใหม่ 2013 ค่ะ ;X

Happy New year..


การเข้าเรียน ครั้งที่ 8

บันทึกการเข้าเรียน

ครั้งที่ 8 

วันที่ 21 ธันวาคม 2555



   วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นช่วงการสอบกลางภาค ;)

การจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์

การจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

    การจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ศิริลักษณ์ วุฒิสรรพ์ ( 2551: 28-29 ) กิจกรรมควรออกแบบให้กระตุ้นความคิดทางคณิตศาสตร์ ช่วยให้เด็กรู้สึกสบายๆ กับการแก้ปัญหา สร้างความรักความชอบต่อการทำคณิตศาสตร์ การประเมินผลเน้นการประเมินการจัดกิจกรรม และกิจกรรมต้องเน้นเด็กเป็นศูนย์กลางเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับเด็ก เน้นการประสบการณ์ของเด็กเป็นรายบุคคล ปัญหาและคำตอบจะนำมาใช้ในแง่การวิเคราะห์และประเมินผล โดยการรวบรวมข้อมูลโดตัวเด็กเอง ครู ผู้ปกครอง การร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การรายงานผลการวิเคราะห์ให้กับผู้ปกครอง ตัวอย่างงานของเด็ก การบันทึกความก้าวหน้าของเด็กจะต้องมี กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับนิทาน เรื่องราวที่เป็นสถานการณ์เชื่อมโยงไปสู่การแก้ปัญหา ได้ทำกิจกรรมที่ช่วยให้เกิดการแก้ปัญหา รวมถึงกิจกรรมที่พัฒนาทักษะเกี่ยวกับการวัดความยาว พื้นที่ความจุปริมาตรและเวลา ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้จะเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้การใช้ภาษา การจดบันทึกข้อมูล การคาดคะเนการประเมิน และวิธีการแสดงผลข้อมูล
กิจกรรม จะต้องกระตุ้นเด็กให้ใช้คณิตศาสตร์แก้โจทย์ปัญหา ได้ใช้การสื่อสารอธิบายความคิดทางคณิตศาสตร์ และสร้างแนวทางการใช้คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ทำให้เด็กมีกิจกรรมที่มีความหมายในการสร้างสังคมของเด็ก ได้เชื่อมโยงประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์กับวิชาอื่นๆ ในโลกแห่งความจริง ได้รับการกระตุ้นให้เกิดการสื่อสาร โดยผ่านการตั้งคำถามและโต้ตอบเกี่ยวกับความคิดทางคณิตศาสตร์ และให้มีกิจกรรมเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ เช่น ให้ทำกิจกรรมเกี่ยวกับกราฟหรือภาพแสดงข้อมูล ซึ่งจะช่วยสร้างทักษะการเรียงลำดับ การจัดประเภท การเปรียบเทียบความเหมือน ความต่าง ในขณะที่เด็กรวบรวมข้อมูลและจัดการกับข้อมูล ได้ทำการเปรียบเทียบและสรุปผล อาจทำกิจกรรมเป็นกลุ่มและรายบุคคล รวมถึงการทำการสำรวจสิ่งแวดล้อม ห้องเรียนและโรงเรียน มีกิจกรรมการจัดกลุ่มสิ่งของ การนับ การเขียนกราฟรูปภาพและใช้วิธีต่างๆ ในการรวบรวมข้อมูลและแสดงข้อมูล
สิ่งที่คาดหวังมากที่สุด ก็คือ เมื่อผ่านปฐมวัย เด็กจะยังคงสนุกสนานกับการใช้ภาษาคณิตศาสตร์และใช้ได้อย่างถูกต้องและในการ เล่นของเด็กก็จะแสดงถึงความก้าวหน้าในการใช้หลักการและเหตุผลทางคณิตศาสตร์ เด็กจะกระตือรือร้นที่จะจัดกระทำและทดลองกับสิ่งรอบๆ ตัวบล็อกจะถูกจัดเรียงตามรูปร่างหรือขนาด มีการเปรียบเทียบความกว้าง ยาว และความลึก ในการจัดประสบการณ์พื้นฐานทางคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัยนั้น มีจุดมุ่งหมายสำคัญที่จะเตรียมเด็กให้มีความพร้อมทางคณิตศาสตร์เบื้องต้น นั่นคือ ให้เห็นคุณค่าของคณิตศาสตร์ให้ใช้เหตุผลเชิงคณิตศาสตร์ได้ ให้สื่อสารคณิตศาสตร์เป็น ให้แก้ปัญหาได้ และมีความมั่นใจในความสามารถการทำคณิตศาสตร์ของตน ประสบการณ์ที่จัดต้องเป็นประสบการณ์ตรงที่เหมาะกับวัย มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์แก่เด็ก พัฒนาความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์และพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์พื้น ฐาน__
คณิตศาสตร์มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตประจำวันของเด็กในการเล่น และพูดคุยของเด็กนั้น มักจะมีเรื่องคณิตศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันอยู่เสมอ จากคำพูดของเด็กที่เราได้ยินมักจะพบอยู่เสมอว่ามีการพูดึงการเปรียบเทียบ การวัด และตัวเลข เช่น “เอาอันที่ใหญ่สุดให้หนูนะ” “หนูจะเอาอันกลม ๆ นั่นละ” “โอ้โฮ อันนี้ราคาตั้ง 10 บาท” “หนูรู้เบอร์โทรศัพท์ที่บ้านคุณยาด้วย” “วันนี้เราตื่นสาย” “หนูไม่ไปโรงเรียน 8 โมงเช้า” “บ้านคุณยายอยู่ห่างจากบ้านหนู 20 กิโล” “หนูมีเงินตั้ง 5 บ้าน” “คุณแม่ให้เงินหนู 10 บาท” “หนูมีถุงเท้าใหม่ 3 คู่” ประโยคเหล่านี้ล้วนน่าสนใจและแสดงถึงการใช้คำศัพท์ที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ มีทักษะและความรู้ทางคณิตศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาที่สูงขึ้น และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป

กิจกรรมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
การนับถือว่าเป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับ ตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จักเด็ก จะเชื่อมโยงตัวเลขกับสิ่งต่างๆกิจกรรมที่เกี่ยวกับการนับควร ให้เด็ก ได้ฝึกจากประสบการณ์จริง อาจให้นับกระดุมเสื้อ นับ ต้นไม้ในสนาม นับหลอดด้าย เป็นต้น

ตัวอย่างกิจกรรม เพื่อฝึกการนับและแยกประเภท
จุดประสงค์ เพื่อฝึกการนับและการแยกประเภท
อุปกรณ์ 1. ส้ม 2-3 ผล
2. มะม่วง 2-3 ผล
3. เงาะ 2-3 ผล (เปลี่ยนเป็นผลไม้อื่น ๆ ได้ตามฤดูกาล)
4. การจาด 5. ผ้าสำหรับคลุม
ขั้นจัดกิจกรรม
1. ผู้เลี้ยงดูเด็กนำส้ม มะม่วง เงาะ ใส่กระจาด แล้วใช้ผ้าคลุมไว้
2. ให้เด็กอาสาสมัครออกมาคลำและบอกว่าเป็นผลไม้อะไร
3. และถามว่าผลไม้ชนิดนั้นมีกี่ผล
4. เมื่อคลำจนครบ ผู้เลี้ยงดูเด็กเปิดผ้าคลุมออกให้เด็กบอกชื่อผลไม้ในกระจาดและช่วยกันนับจำนวนผลไม้
5. ให้เด็กอาสาสมัครออกมาช่วยกันแยกประเภทผลไม้
การประเมินผล
สังเกต
1. จากการร่วมกิจกรรม
2. จากการสนทนาตอบคำถาม
3. จากการค้นหาคำตอบด้วยตนเอง การจับคู่ ถือว่าเป็นกิจกรรมเบื้องต้นของคณิตศาสตร์อีกกิจกรรมหนึ่ง

การเข้าเรียน ครั้งที่ 7


บันทึกการเข้าเรียน

ครั้งที่ 7

วันที่ 14 ธันวาคม 2555


      วันนี้อาจารย์พูดถึงเรื่องของ มาตราฐานคณิตศาสตร์ อาจารย์ยกตัวอย่างมาตรฐานคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวันมา เช่นการรับประทานอาหารในแต่ละมื้อ และมาตรฐานของสถานศึกษา เป็นต้น และอาจารย์ยังพูดถึงพัฒนาการ การประเมินเด็กด้วยกิจกรรมต่างๆ ว่าสอดคล้องอย่างไร และได้สั่งงาน คือ ให้ไปตัดกระดาษขนาด 2 4 6 (3 ขนาด เพื่อทำการทำกิจกรรมในคาบต่อไป) ซึ่งตอนนี้ได้ยกเลิกแล้ว เพราะอาจารย์ให้ทำงานอันเก่า(วาดรูปสื่อ) ให้เสร็จก่อนโดยส่งทางเมล์ให้อาจารย์เพื่อความสะดวก และประหยัดเวลา

การเข้าเรียน ครั้งที่ 6


บันทึกการเข้าเรียน

ครั้งที่ 6

วันที่ 7 ธันวาคม 2555


     เนื่องจากวันนี้ดิฉันไม่ได้มาเรียน จึงดูบันทึกการเข้าเรียนจาก พรทิพย์ สุมาลัยค่ะ และนำภาพกิจกรรมมาจาก ชนนิภา วัฒนภาเกษมค่ะ ;)

  • อาจารย์จ๋าให้นำกล่องมาคนละ 1 กล่อง
  • กล่องสอนเรื่องรูปทรง ปริมาณ ขนาด กล่องเป็นเครื่องมือ
  • ความเป็นปริมาณ การจับคู่ เศษส่วนคือทั้งหมดมีเท่าไร จับหนึ่งต่อหนึ่งแบ่งครึ่งหนึ่งของทั้งหมดไปทำงานศิลปะ การทำตามแบบ ครูทำให้เด็กดูแล้วให้เด็กเรียงตาม การอนุรักษ์่ วัตถุที่มีปริมาณคงที่แม้เปลี่ยนแปลงไป จุดเริ่มต้นเริ่มจากซ้าย
  • อาจารย์จ๋าถามว่ากล่องแต่ละคนนึกถึงอะไร ข้าพเจ้าตอบนึกถึงทองคำแท่ง
  • อาจารย์จ๋าให้จับกลุ่ม 11 คน นำกล่องมาประกอบรูปอะไรก็ได้โดยมีเงื่อไขดังนี้
  กลุ่มที่ 1 คุยกันได้ วางแผนกันก่อน ( ประดิษฐ์เป็นรูปคน )
  กลุ่มที่ 2 คุยกันได้ลงมาติดที่ละคน  ( ประดิษฐ์เป็นตึกหลากสี )
  กลุ่มที่ 3 คุยกันไม่ได้ ( ประดิษฐ์เป็นสถานีรถไฟ )
  • แต่ละกลุ่มจะเกิดปัญหาที่แตกต่างกัน และมีวิธีแก้ไขปัญหาที่แตกต่างกันออกไปไม่เหมือนกันตามเงื่อนไขที่ได้กำหนดไว้
เด็กเกิดประสบการณ์มากเกิดการเรียนรู้มีความคิดสร้างสรรค์เด็กเกิดมี ข้อมูลมากเปิดโดยการที่ปรับเปลี่ยนความรู้ใหม่ถ้าแสดงออกมาเด็จะเกิดการ เรียนรู้





ตัวอย่างกิจกรรมคณิตศาสตร์

กิจกรรมการแยกประเภท (Sorting)
อันแรกเป็นการแยกสี รูปและไอเดียโดยป้าเจคอบค่ะ




กิจกรรม เหมือน และ แตกต่าง
กิจกรรมชุดนี้ แม่แอ๋วตั้งใจทำเป็นพิเศษเพราะว่าช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมา เจคอบยังคงงงกับความเหมือนและแตกต่าง คือลูกแยกได้ว่าอันไหนเหมือนกันบ้าง แต่พอถามว่าอันไหนที่แตกต่าง ลูกจะหยิบของที่เหมือนกันทุกชิ้น ไม่ยอมหยิบของที่แตกต่างกันเลย ดังนั้นอาทิตย์ที่ผ่านมาเลย drill เหมือนและแตกต่างกันทุกวันเลยค่ะ และในที่สุด เจคอบก็แยกได้ พอถามอะไรที่เหมือนกัน ก็จะชี้ถูก อันไหนต่างจากเพื่อน ก็จะชี้ถูก ^_^
อุปกร์ที่นำมาใช้สอน แม่แอ๋วเลือกอุปกรณ์ที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ลูกจะได้มองเห็นภาพได้ง่ายๆค่ะ
อันแรกเป็นเหมือนและแตกต่าง ใช้กระดาษเช็ดปากที่สีสันต่างกัน





การเข้าเรียน คร้งที่ 5

บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 5

วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2555

     การเรียน การสอน

             - วันนี้อาจารย์ได้พูดถึงขอบข่ายของวิชาคณิตศาสตร์ (ของ นิตยา  ประพฤติกิจ)ว่ามีความหมายอย่างไร และยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพและเข้าใจ
              ซึ่งมีเนื้อหาดังนี้ 
                 1. การนับ 
                 2. ตัวเลข 
                 3. การจับคู่ 
                 4. การจัดประเภท
                 5. การเปรียบเทียบ
                 6. การจัดลำดับ
                 7. รูปทรงและเนื้อที่
                 8. การวัด
                 9 .เซต
                 10.เศษส่วน
                 11.การทำตามแบบหรือลวดลาย
                 12.การอนุรักษ์
           
           - อาจารย์ก็ได้พูดถึงเรื่องคณิตศาสตร์แนวใหม่ที่ครูควรศึกษา โดย (เยาวพา เดชะคุปต์) 
              ซึ่งมีเนื้อหาดังนี้
                1. การจัดกลุ่ม 
                2. การฝึกหัด 
                3. ระบบจำนวน
                4. ความสัมพันธ์ระหว่างเซตต่าง ๆ 
                5. คุณสมบุติของคณิตศาสตร์ 
                6. ลำดับสำคัญ และ ประโยชน์ของคณิตสาสตร์ 
                7. การวัด (เพื่อหาปริมาตร) 
                8. รูปทรงเรขาคณิต (สิ้งของที่มีมิติต่าง ๆ จากสิ่งรอบ ๆ ตัว ) 
                9. สถิติและกร๊าฟ  (การนำเสนอข้อมูล การทำแผนภูมิ ) 


  *อาจารย์ได้พูดถึงกิจกรรมต่าง ๆ ในคณะว่ามีความสำคัญอย่างไรควรเข้าหรือไม่เข้าเพราะเหตุใด ซึ่งทำให้นักศึกษาเล็งเห็นถึงความสำคัญของกิจกรรมภายในมหาวิทยาลัยมากยิ่งขึ้น *

การเข้าเรียน ครั้งที่ 4

บันทึกการเข้าเรียน

ครั้งที่ 4 

วันที่ 23 พฤศจิกายน 2556


   วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากที่คณะศึกษาศาสตร์มีการจัดกิจกรรมกีฬาสีของคณะค่ะ
ดิฉันอยู่สีส้ม เป็นกองเชียร์อยู่ที่แสตนค่ะ :)



ภาพการเข้าร่วมกิจกรรมในวันนั้นค่ะ